2013-02-07

คึ่นช่าย-Celery




ผักคึ่นช่าย ช่วยรักษาโรค

คึ่นช่าย หรือภาษาอังกฤษเรียกCelery หรือ Smallage เป็นไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง
ใบคล้ายผักชีแต่โตกว่า
กลิ่นฉุนนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารหลายอย่างเช่น
ใส่ในข้าวต้ม ผัดปู เป็นต้น
ใบ ลำต้น และเมล็ดล้วนเป็นยาได้
นิยมใช้ลำต้นและใบมาปรุงอาหาร และแต่งกลิ่นอาหารบางชนิด
โดยเฉพาะใช้ดับคาวปลา และเนื้อ

วิธีการเก็บคึ่นฉ่ายและผักกาดหอมให้นานเก็บใส่ห่อกระดาษ


เป็นไม้ล้มลุกอายุ1-2ปีไม่ชอบน้ำขัง
คึ่นช่ายเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในดินเค็ม
ขึ้นในดินร่วนเบา ดินปนทรายเป็นผักที่มีอายุสั้นถ้าได้ดินดีก็จะเจริญงอกงามเร็ว
นิยมปลูก2พันธุ์คือ พันธุ์จีน และ พันธุ์ฝรั่ง
รดน้ำทั้งเช้าเย็นให้ชุ่มอยู่เสมออย่าให้เฉอะแฉะเกินไปใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์พรวนดินทุกครั้งประมาณ90วันย้ายกล้ามาปลูก วิธีการเก็บจะใช้การถอนออกมาทั้งรากควรรดน้ำก่อนเพื่อให้ดินไม่แข็งจะได้ถอนง่ายขึ้น


ต้นคึ่นช่ายที่บ้านปลูกโดยการซื้อต้นจากตลาด ใช้รากที่เหลือจากเด็ดใบไปปรุงอาหารแล้ว ตัดให้เหลือแต่ใบที่ยอดเอามาปลูกในกระถาง ไม่นานก็มีใบใหม่งอกขึ้นมา เวลาจะนำไปใส่อาหารก็ตัดแต่ใบแก่ไปกินได้เรื่อยๆ 


ประโยชน์

สรรพคุณทางยาของคึ่นช่ายเหล่านี้ชาวยุโรปรู้จักกันดี
ถ้าไปค้นในประวัติศาสตร์โบราณของยุโรปก็จะพบว่ามีการใช้สมุนไพรชนิดนี้อย่างกว้างขวาง

รวมไปถึงมีการแนะนำให้ใช้คึ่นช่ายเพื่อรักษาโรคนอนไม่หลับ โรคอ้วน โรคประสาท มะเร็งหลายชนิด
ใช้ขับประจำเดือน และกินแล้วทำให้เกิดการแท้งลูกได้
รวมทั้งยังเชื่อว่าคึ่นช่ายยังมีฤทธิ์ในการกระตุ้นกำหนัดและบำรุงประสาทอีก ด้วย


ชาวกรีกโบราณมีการทำไวน์คึ่นช่ายเพื่อให้นักกีฬากิน และใช้เป็นยาสมุนไพรมาอย่างยาวนาน

ชาวเอเชียรู้จักใช้คึ่นช่ายเป็นยาลดความดันมาประมาณ 2000 ปี
ชาวจีน ชาวเวียดนามแนะนำให้รับประทานคึ่นช่ายวันละ 4 ต้น
เพื่อรักษาความดันให้เป็นปกติ แพทย์อายุรเวทในอินเดียจะสั่งจ่ายเมล็ดคึ่นช่ายเพื่อขับปัสสาวะสำหรับผู้ป่วยที่บวมน้ำ

- ราก แก้จุกเสียด ขับน้ำเหลืองเสีย ขับปัสสาวะ ต้น ขับระดู แก้ความดันโลหิตสูง ขับปัสสาวะ แก้อาการเมา เหล้า แก้อาเจียน รับประทานมากทำให้เป็นหมันได้
- ใบ แก้โรคความดันโลหิตสูง แก้อาการตกเลือด แก้โรคลมพิษ เมล็ด ขับลม ขับระดู ขับปัสสาวะ แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อเป็นยาบำรุง บำรุงหัวใจ ทั้งต้น ลดความดันโลหิต ขับระดู เป็นต้น



* มีน้ำมันหอมระเหย ช่วยขับลม เหมาะสำหรับคนเป็นโรคไต

* นอกจากนี้ยังใช้สำหรับการรักษาหวัด หวัดใหญ่
อาจเนื่องมาจากคึ่นช่ายเป็นผักที่มีวิตามินซีสูงมากชนิดหนึ่ง

* ในผักคึ่นช่ายมีน้ำมันหอมระเหยอยู่ด้วย จึงมีสรรพคุณในการช่วยย่อยอาหาร

* มีการนำมาใช้เป็นยาแก้ข้ออักเสบ โรคเก๊า ลดบวม

* คุมกำเนิด ลดจำนวนอสุจิ

* ลดระดับน้ำตาลในเลือด

* ช่วยทำให้หัวใจและหลอดเลือดแข็งแรง

* ลดคลอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์

* ยับยั้งการเกิดมะเร็ง ยับยั้งเนื้องอก สามารถต้านอนุมูลอิสระ

* ต้านการอักเสบ ทำให้กล้ามเนื้อเรียบบีบตัว

* มีฤทธิ์กล่อมประสาท

* ลดความดันโลหิต (hypertension) และโคเลสเตอรอลในเลือด โดยใช้คึ่นฉ่ายสด (ไม่เอาราก) ล้างให้สะอาดคั้นเอาแต่น้ำ เติมน้ำผึ้งหรือเชื่อมจำนวนเท่ากัน กินครั้งละ 40 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง (อุ่นก่อนกิน)

ใช้คึ่นช่ายประมาณ 4 ก้านทุกวัน ไม่นานนักพบว่าความดันลดลงจาก 158/96 เหลือ 118/82 พบว่าความดันโลหิตสูงลดลงร้อยละ 15 และโคเลสเตอรอลลดลงร้อยละ 7

โรคความดันโลหิตสูงจะพาชีวิตของเราป่วยไข้ได้อีกหลายโรค
เนื่องจากโรคนี้ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักซึ่งอาจจะทำให้เกิดโรคหัวใจวาย
และเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับหนึ่งของโรคอัมพาต
นอกจากนี้ยังพาเราให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ โรคไต
โรคหลอดเลือดแดงแข็ง เป็นต้น

ผู้ป่วยโรคนี้ต้องทำการลดน้ำหนัก บริโภคอาหารที่มีปริมาณเกลือลดลง
รับประทานผักและผลไม้ให้มาก เนื่องจากผักและผลไม้จะมีโปแตสเซียมจำนวนมากซึ่งจะช่วยลดความดันโลหิตได้
และควรงดการดื่มสุรา

สำหรับท่านที่ต้องการใช้สมุนไพรเพื่อช่วยคุมความดันให้อยู่ในระดับปกตินั้น สมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีความปลอดภัยสูงและมีการใช้ลดความดันกันอย่างแพร่หลาย คือ “คึ่นช่าย”



ทีมาของข้อมูล
http://www.thaigoodview.com/library/iam/healthy06/upyes/upyes.html

http://www.homedd.com/HomeddWeb/servlet/homedd.A_garden.frontweb.FwVegetOurList?hidPage_id=1&hID=294&hMode=Our

http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/5-4/no40/kenchay.html

http://www.bangsakae.org/article-detail.php?id=33


สรรพคุณ / ประโยชน์ของคึ่นฉ่าย


ค่นฉ่ายนั้นมีทั้งในยุโรปและเอเซีย ในยุโรปนั้นถือเป็นพืชพื้นเมืองของยุโรปตอนใต้ ชาวกรีกโบราณมีการทำไวน์ขึ้นฉ่ายเพื่อให้นักกีฬากินและใช้เป็นยาสมุนไพรมานานแล้วด้วย มีด้วยกัน 3 ชนิดคือ ต้นสีขาว สีเขียว และน้ำตาลเขียว ต้นอวบใหญ่มาก สูงราว 40-60 ซม. ส่วนในเอเชียนั้นจะมีขนาดเล็กว่าคือสูงราว 30 ซม. ที่บ้านเรารับประทานกันอยู่นั้นเป็นพันธุ์จากเมืองจีน

สาร สำคัญในขึ้นฉ่ายที่ช่วยลดความดันโลหิต ลดปริมาณโคเลสเตอร์รอลและมีฤทธิ์เป็นยาระงับประสาทก็คือ 3-เอ็น-บิวทิล ฟทาไลด์ (3-n-butylphthalide)

นอกจากนี้ขึ้นฉ่ายยังอุดมไปด้วยธาตุโพแทสเซียมซึ่งช่วยปรับระดับคววามดันเลือดให้เป็นปกติ และมีสารจำพวกเกลือแร่ แคลเซียม และฟอสฟอรัสอยู่มาก จึงช่วยให้ให้กระดูกและฟันแข็งแรงและช่วยบำรุงครรภ์ด้วย

รวมทั้งมีสารต้านอนุมูลอิสระ คือ พีนอลิคอยู่มาก จึงสามารถนำมาใช้ชะลอความเสื่อมของร่างกายได้ดีพอสมควร มีวิตามินซีสูงมากซึ่งสามารถต้านอนุมูลอิสระ รักษาไข้หวัดและช่วยทำให้หัวใจและหลอดเลือดแข็งแรง ทั้งยังมีสารเบตตาแคโรทีนช่วยต้านมะเร็งและหัวใจขาดเลือดอีกด้วย

และคุณสมบัติทางยาของขึ้นฉ่ายตามตำราจีนอีกอย่างหนึ่งก็คือ ช่วยขับปัสสาวะ และน้ำคั้นจากขึ้นฉ่ายยังช่วยลดอาการบวมน้ำ เช่น อาการบวมน้ำก่อนมีประจำเดือน แก้โรคไขข้อ แก้อาการอักเสบและอาการปวดตามข้อ

ชาวเอเชียรู้จักใช้ขึ้นฉ่ายเป็ยาลดความดันมาเป็นพันปีแล้วค่ะ ชาวจีน ชาวเวียดนามแนะนำให้รับประทานวันละ 4 ต้น เพื่อรักษาความดันให้เป็นปกติ ซึ่งมีข้อมูลว่าในปี ค.ศ. 1992 นายมินห์ เลย (Minh Le) ชาวเวียดนามบิดาของนักศึกษามหาวิทยาลัยแพทย์ชิคาโก ถูกวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง และแพทย์ได้สั่งยาแผนปัจจุบันเพื่อรักษาความดันโลหิตสูง ขับปัสสาวะ แก้อาการเมาเหล้า แก้อาเจียน รับประทานมากทำให้เป็นหมันได้ ใบแก้โรคความดันโลหิตสูง แก้อาการตกเลือด แก้โรคลมพิษ เมล็ด ขับลม ขับประดู ขับปัสสาวะ แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อเป็นยาบำรุงหัวใจ เป็นต้น

สอดคล้องกับการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่พบว่า ขึ้นฉ่ายมีสรรพคุณในการลดความตัดโลหิต ขับปัสสาวะ ลดบวม คุมกำเนิด ลดจำนวนอสุจิ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ยับยั้งการเกิดมะเร็ง เนื้องอก ต้านการอักเสบ ทำให้กล้ามเนื้อเรียบบีบตัว มีฤทธิ์กล่อมประสาท เป็นต้น

                                              สรรพคุณ และ ประโยชน์ของขึ้นฉ่าย

ส่วนสาเหตุที่นิยมนำขึ้นฉ่ายมาใช้ในการปรุงอาหาร เพื่อดับกลิ่นคาวปลาหรือเนื้อหรือเพิ่มความหอมของน้ำซุบ ก็เพราะว่าในขึ้นฉ่ายมีสารจำพวกน้ำมันหอมระเหย ได้แก่ ไลโมนีน (Limonene) ซีลินีน (Selinene) และ ฟทาไลด์ (Phthaildes) ซึ่งทำให้เกิดกลิ่นหอมเฉพาะตัวของขึ้นฉ่าย และช่วยกระตุ้นให้เกิดความอยากอาหาร

เดี๋ยวนี้คนทั่วโลกหันมานิยมรับประทานอาหารขึ้นฉ่ายกันมากขึ้น มีทั้งรับประทานกันแบบสด ๆ หรือนำไปคั้นเป็นน้ำดื่มแบบสด ๆ หรือไปปรุงอาหารสารพัดรูปแบบ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก ธรรมลีลา ขอขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต

No comments:

Post a Comment