2012-04-14

ขนุน (อังกฤษ: jackfruit, ชื่อวิทยาศาสตร์: Artocarpus heterophyllus หรือ A. heterophylla[1]) ภาคอีสานเรียนบักมี่ ภาคเหนือเรียกบ่าหนุน กาญจนบุรีเรียกกระนู ภาษาไทใหญ่เรียก ลาง เป็นไม้ผลยืนต้นในวงศ์ Moraceae มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้และแพร่หลายมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และได้รับความนิยมมากในคาบสมุทรมลายู ไม่ปรากฏว่าเข้ามายังประเทศไทยเมื่อใด แต่มีกล่าวถึงในเอกสารโบราณตั้งแต่สมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา ชื่อสามัญของขนุนในภาษาอังกฤษคือ jackfruit มาจากภาษาโปรตุเกส jaka ที่เพี้ยนมาจากภาษามาเลย์ chakka [2] หรือภาษามาลายาลัม chakka [3]ขนุนมีผลขนาดใหญ่ที่สุดในโลก[4] นานๆครั้งถึงจะมีผลที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 25 ซม.
ขนุนเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ อยู่ในวงศ์เดียวกับสาเก สูง 15-30 เมตร ลำต้นและกิ่งเมื่อมีบาดแผลจะมีน้ำยางสีขาวข้นคล้ายน้ำนมไหล ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี ขนาดกว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 10-15 เซนติเมตร ปลายใบทู่ถึงแหลม โคนใบมน ผิวในด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบหนา ดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงลดแยกเพศอยู่รวมกัน เป็นช่อสีเขียว อัดกันแน่น แยกเพศ แต่อยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกตัวผู้ออกตามปลายกิ่งหรือซอกใบ เป็นแท่งยาว ช่อดอกตัวเมียเป็นแท่งกลมยาว ออกตามลำต้นหรือกิ่งใหญ่ เมื่อติดผล ดอกทั้งช่อจะเจริญร่วมกันเป็นผลรวมมีขนาดใหญ่ โดย 1 ดอกกลายเป็น 1 ยวง ในผล ผลดิบเปลือกสีเขียว หนามทู่ ถ้ากรีดเปลือกจะมียางเหนียว เมื่อแก่ เปลือกสีน้ำตาลอ่อนอมเหลือง หนามจะป้านขึ้น ภายในผลมีซังขนุนหุ้มยวงสีเหลืองไว้ เมล็ดอยู่ในยวง [5][2] ขนุนมีหลายพันธุ์ สีของเนื้อจะต่างไปตามพันธุ์ บางพันธุ์ซังมีรสหวานรับประทานได้ บางพันธุ์ซังรสจืดไม่ใช้รับประทาน พันธุ์ขนุนที่ปลูกในประเทศไทย ได้แก่[2] พันธุ์ตาบ๊วย เนื้อสีจำปาออกเหลือง ผลใหญ่ เนื้อหนา พันธุ์ฟ้าถล่ม ผลขนาดใหญ่มาก ค่อนข้างกลม เนื้อสีเหลืองทอง พันธุ์ทองสุดใจ ผลใหญ่ ยาว เนื้อสีเหลือง พันธุ์จำปากรอบ ผลขนาดกลาง เนื้อสีจำปา หวานอมเปรี้ยว [แก้]การใช้ประโยชน์ ขนุนเป็นผลไม้ที่นิยมรับประทานในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [6]เนื้อขนุนสุกใช้รับประทานเป็นผลไม้ และใช้ทำขนมได้หลายชนิด เช่น ใส่ในไอศกรีม ลอดช่องสิงคโปร์ รวมมิตร กินกับข้าวเหนียวมูน หรือนำไปอบแห้ง ใช้กินเป็นของว่าง ขนุนอ่อนนำมาปรุงอาหารใช้เป็นผัก เช่นใส่ในแกง ยำ ส้มตำ[2]เมล็ดนำมาต้มหรือต้ม รับประทานได้ แก่นไม้ใช้ย้อมสีจีวรของพระภักษุ เนื้อไม้ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องดนตรี [แก้]อ้างอิง ^ http://www.tropical-biology.org/research/dip/species/Artocarpus%20heterophyllus.htm ^ 2.0 2.1 2.2 2.3 นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. ขนุน ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 41- 43 ^ T. Pradeepkumar, Kumar, Pradeep. Management of Horticultural Crops: Vol.11 Horticulture Science Series, page 81: "The English name jackfruit is derived from Portuguese jaca, which is derived from Malayalam chakka." ^ Know and Enjoy Tropical Fruit: Jackfruit, Breadfruit & Relatives ^ ขนุน ข้อมูลพรรณไม้ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ^ The encyclopedia of fruit & nuts, By Jules Janick, Robert E. Paull, pp.481–485
Artocarpus heterophyllus Taxon : Artocarpus heterophyllus Lam. Family : Moraceae Common names: jackfruit, jack, jack tree, jak, jakfruit Synonyms: Artocarpus brasiliensis Gomez., Artocarpus heterophylla Lam., Artocarpus maxima Blanco, Artocarpus philippinensis Lam., Polyphema jaca Lour., Soccus arboreus major Rumph., Artocarpus integra (Thunb.), Artocarpus integrifolia L.f., Artocarpus integrifolius auct., Artocarpus integer auct. Life form: tree Biology/Ecology: Dispersal: Seeds spread via consumption of fruit by animals. Introduced by humans for ornamental purposes and for its very large fruit. Reproduction: Male and female flowers borne in separate green flower heads. Yellow pollen falls from male flowers after flowering, and flowers are wind pollinated. Produces very large green or yellow fruit, each containing between 100 and 500 light brown seeds. Trees begin fruiting after 4 to 14 years, and often produce fruit all year round. Herbivores: grazing animals eat foliage. Insect pests include boring insects, shoot-boring caterpillars, mealybugs, spittlebug, jack scale, larvae of longicorn beetles and various nematodes. Resistant stages: Has a strong, resistant taproot. Seeds are viable for 2 to 4 weeks. Habitat: Native habitat: tropical rainforest Habitat occupied in invaded range: lowland tropical rainforest and semi-dry forest. Habitat requirements: Altitude Below 1600 metres above sea level. Light Young trees require some shade, but mature tree prefers full sunlight. Temperature Mean annual temperature of 19 to 29 degrees Celsius. Annual rainfall Between 1000 and 2400 mm, intolerant of drought lasting for more than 4 months. Soil Well drained but moist soil with a pH of 4.3 to 8 and medium soil fertility. Intolerant of frost or drought lasting for more than 4 months. Distribution: Native to India and Malaysia. Introduced range: Introduced but not invasive in central and eastern Africa, south-eastern Asia, the Caribbean, Florida, Brazil, Australia, Puerto Rico and many Pacific Islands. Impacts: Ecosystem: Does not grow and spread particularly fast, so is generally not considered to be invasive. Health, social and economic: Produces very large, edible fruit. The fruit has a characteristic odour which can be a problem in urban areas. Management: Mechanical: Seedlings and saplings can be dug out. Chemical: No information available. Biological: Grazing animals eat jackfruit foliage, so could effectively control younger trees. References: http://www.tropical-biology.org/research/dip/species/Artocarpus%20heterophyllus.htm California Rare Fruit Growers Inc, 1996. Available from http://www.crfg.org/pubs/ff/jackfruit.html (Accessed August 2006). Elevitch, C.E. and Manner, H.I., 2006. Artocarpus heterophyllus (jackfruit). Species Profiles for Pacific Island Agroforestry. Available from http://www.agroforestry.net/tti/A.heterophyllus-jackfruit.pdf (Accessed August 2006). Duke, J.A., 1989. Handbook of Nuts. CRC Press LLC.

No comments:

Post a Comment