2013-01-27

PAPAYA-มะละกอ

Sweet and tasty papaya – a great remedy for many illnesses. (It’s known as Paw-Paw in Austrlia and the Pacific islands)
It’s a great fruit . . .  have a slice on me. Every day!


มะละกอ Carica papaya L. วงศ์ Caricaceae 

ชื่ออื่นได้แก่ มะก๊วยเทศ (เหนือ) มะกล้วยเต็ด (พายัพ) มะหุ่ง (ล้านช้าง) บักหุ่งหรือหมักหุ่ง (เลย นครพนม) สะกุยเส (แม่ฮ่องสอน) กล้วยลา (ยะลา) แตงต้น (สตูล) มะเต๊ะ (ปัตตานี) ลอกอ (ภาคใต้และมลายู) ภาษาฮินดูเรียก Papeeta ภาษาต่างประเทศอื่นๆ เรียก Papaya, Melan Tree, Paw Paw มะละกอเป็นไม้ผลล้มลุก ต้นสูงประมาณ 5-10 เมตร

มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกากลาง เข้ามาในหมู่เกาะฟิลิปปินส์และเอเชียราวปลายศตวรรษที่ 10 ที่ฟิลิปปินส์ ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วเนื้อในจะมีสีเหลืองถึง ส้ม นิยมนำผลสดมากินสดและนำไปปรุงอาหารได้ด้วย มะละกอมีลำต้นตรงไม่มีกิ่งก้าน ลำต้นนิ่มมีสีเทา และมีร่องรอยของใบที่หลุดร่วงไป ใบเป็นใบเดี่ยวมีแฉกลึก 5-9 แฉก ก้านใบยาว เรียงตัวแบบสลับเกาะกลุ่มอยู่ด้านบนสุดของลำต้น ภายในก้านใบและใบมียางเหนียวสีขาว ช่อดอกเพศผู้มีก้านดอกยาว กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว 1.5-2.5 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-2.5 เซนติเมตร เกสรเพศผู้มี 10 อัน ดอกเพศเมียก้านดอกสั้นหรือไม่มีก้านดอกเลย ดอกเพศเมียและดอกสมบูรณ์เพศออกเดี่ยวหรือ 2-3 ดอก กลีบดอก 5 กลีบ ดอกมีขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้ มะละกอบางต้นอาจมีดอกเพียงเพศเดียว แต่บางต้นอาจมีดอกทั้งสองเพศก็ได้

ผลดิบมีเนื้อสีขาวอมเขียวมีน้ำยางสีขาวสะสมอยู่ที่เปลือก ผลสุกมีเนื้อสีแดงส้ม เนื้อหนาอ่อนนุ่ม รสหวาน มีเมล็ดรูปไข่สีน้ำตาลดำผิวขรุขระมีถุงเมือกหุ้มจำนวนมาก มะละกอเป็นไม้ผลที่คนไทยนิยมกิน ยอดอ่อนดองกินได้ ผลดิบนำมาปรุงอาหาร ใช้ปรุงส้มตำ แกงส้ม แกงเหลือง แกงอ่อม ผัดไข่ ต้มจิ้มน้ำพริก ผลสุกกินสด น้ำมีรสชาติหวานหอม มีวิตามินเอและแคลเซียมสูง นอกจากจะมีการกินภายในประเทศแล้วปัจจุบันยังมีการส่งมะละกอไปจำหน่ายตลาดต่างประเทศอีกด้วย พันธุ์ในประเทศใช้กินผลสุกที่ได้รับความนิยมคือพันธุ์แขกดำ ปัจจุบันมีการพัฒนาพันธุ์ครั่งใช้กินดิบเก็บได้นาน เนื้อกรอบ ตำส้มตำได้รสชาติดี


ผลดีต่อสุขภาพ 

มะละกอมีไขมันอิ่มตัว คอเลสเตอรอล และเกลือโซเดียมต่ำ เป็นแหล่งที่ดีของเส้นใยอาหาร ธาตุโพแทสเซียม วิตามินเอ ซี และโฟเลต แต่ร้อยละ 92 ของพลังงานจากมะละกอสุกมาจากคาร์โบไฮเดรต ผู้ที่ควบคุมอาหารแป้งและน้ำตาลจึงไม่ควรกินมะละกอมากเกินไป

สีแดงอมส้มที่พบในมะละกอสุกแสดงว่า มะละกอสุกมีสารไลโคพีนซึ่งเป็นสารช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากอีกด้วย มะละกอสุกอุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ แคโรทีน วิตามินซี สารฟลาโวนอยด์ สารโฟเลต กรดแพนโทเทนิก ธาตุโพแทสเซียม แมกนีเซียม และเส้นใยอาหาร สารอาหารเหล่านี้บำรุงสุขภาพของระบบหัวใจและหลอดเลือด และป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่อีก ด้วย นอกจากนี้มะละกอมีเอนไซม์ปาเปน สามารถนำมาใช้ด้านการแพทย์เพื่อรักษาอาการบาดเจ็บทางการกีฬา

นอกจากนี้นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอินสบรุ๊ค ประเทศออสเตรีย พบว่ามะละกอมีสารต้านอนุมูลอิสระ สูงสุดเมื่อสุกงอม เนื่องจากคลอโรฟิลล์สีเขียวเปลี่ยนเป็นสารไม่มีสีที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระอย่างเยี่ยมยอดอีกชนิดหนึ่ง เรียก NCCs (nonfluorescing chlorophyll catabolytes) สะสมบริเวณเปลือกผลและใต้ผิวเปลือก เวลาปอกมะละกอสุกจึงไม่ควรกรีดริ้วบริเวณใต้เปลือกเพราะจะสูญเสียคุณค่าอาหารนี้ไป 

ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

มะละกออาจช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดแข็งตัวและโรคหัวใจที่มีสาเหตุจากโรคเบาหวานได้ดี มะละกอมีวิตามินซี วิตามินอีและวิตามินเอ (ในรูปของสารแคโรทีนอยด์) ซึ่งเป็นสารอนุมูลอิสระที่มีความสำคัญช่วยป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระของคอเลสเตอรอล เชื่อว่าวิตามินซีและอีช่วยการทำงานของเอนไซม์พาราออกโซเนสซึ่งหยุดการเกิดอนุมูลอิสระของคอเลสเตอรอล เส้นใยอาหารในมะละกอช่วยลดคอเลสเตอรอลส่วนกรดโฟลิกใช้เปลี่ยนกรดอะมิโฮโมซิสเทอีนเป็นกรดอะมิโนซิสเทอีนที่ไม่มีพิษภัยอะไร ถ้ามีโฮโมซิสเทอีนอยู่มากกรดอะมิโนนี้จะทำลายผนังหลอดเลือด เกิดความเสี่ยงของอาการหัวใจวายหรือหลอดเลือดสมองอุดตันได้

ช่วยระบบทางเดินอาหาร

สารอาหารในมะละกอช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ลำไส้ใหญ่ เส้นใยอาหารจากมะละกอสามารถจับกับสารพิษก่อมะเร็งในลำไส้ใหญ่และพาส่งออกทำให้เกิดการสัมผัสกับเซลล์ลำไส้ใหญ่น้อยที่สุด และสารโฟเลต บีตาแคโรทีน วิตามินซีและอี ที่พบในมะละกอ จะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยลดการถูกทำลายของสารพันธุกรรมในเซลล์ดังกล่าวด้วยอนุมูลอิสระ 

ฤทธิ์ต้านอักเสบ

มะละกอมีเอนไซม์ปาเปนและไคโมปาเปนช่วยย่อยโปรตีน เอนไซม์เหล่านี้สามารถช่วยลดการอักเสบและกระตุ้นการสมานแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกได้ งานวิจัยจากประเทศมาเลเซียพบว่า สารสกัดจากเปลือกผลมะละกอดิบเร่งอัตราเร็วของการสมานแผลในหนูทดลองได้เร็วกว่าการใช้ยาทา Solcoseryl ถึง 1 สัปดาห์ 

บีตาแคโรทีน วิตามินซีและอีในมะละกอก็มีฤทธิ์ลดการอักเสบเช่นกัน ดังนั้นผู้ป่วยโรคหอบหืด โรคข้อเสื่อม และข้ออักเสบรูมาตอยด์จะได้ประโยชน์จากการกินมะละกอเพื่อลดอาการของโรคดังกล่าว ปัจจุบันมีการใช้เอนไซม์จากมะละกอดังกล่าวผลิตเป็นยาเม็ด ลดอาการบวม การอักเสบจากบาดแผลหรือการผ่าตัดแล้ว 

ช่วยระบบภูมิคุ้มกัน

ร่างกายมนุษย์สามารถเปลี่ยนบีตาแคโรทีนที่ได้จากมะละกอสุกเป็นวิตามินเอและซีได้ เนื่องจากร่างกายต้องการวิตามินทั้งสองเพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ให้ทำหน้าที่ได้ราบรื่น จึงพบว่าการกินมะละกอ เป็นประจำอาจลดความถี่การเกิดไข้หวัดและการติดเชื้อในช่องหูได้ 

การป้องกันภาวะจอประสาทตาเสื่อม 

งานวิจัยตีพิมพ์ในต่างประเทศกล่าวว่าการกินผลไม้ 3 ครั้งต่อวันอาจลดความเสี่ยงของอาการภาวะจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ อันเป็นสาเหตุของการเสียการมองเห็นในผู้สูงอายุ เนื่องจากคนไทยกินมะละกอ ทั้งดิบหรือสุกอยู่เป็นปกติ ดังนั้นเราจึงมีความเสี่ยงในการเกิดโรคดังกล่าวลดลงในยามชรา 

ป้องกันโรคถุงลมปอดโป่งพองและมะเร็งปอด 

งานวิจัยของมหาวิทยาลัยรัฐแคนซัส สหรัฐอเมริกาพบว่า สารก่อมะเร็งจากบุหรี่ (benzo(a)pyrene) ทำให้เกิดการขาดวิตามินเอในสัตว์ทดลองที่ได้รับอาหารปกติ และเกิดอาการถุงลมปอดโป่งพอง แต่สัตว์ที่ได้รับวิตามินเอปริมาณมากแต่ได้รับสารดังกล่าวไม่พบว่ามีอาการถุงลมปอดโป่งพอง ผู้วิจัยจึงเชื่อว่าผู้ที่สูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่เป็นนิตย์ควรป้องกันตนเองโดยการกินอาหารที่มีวิตามินเอสูงเป็นประจำ และมะละกอสุกก็เป็นหนึ่งในอาหารดังกล่าว 

เมล็ดมะละกอใช้รักษามะเร็ง 

ที่ประเทศอินเดียกล่าวสืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษ ว่าเมล็ดมะละกอใช้รักษาโรคมะเร็งได้ งานวิจัยจากประเทศญี่ปุ่นรายงานเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2550 นี้ว่า เมล็ดมะละกอมีเอนไซม์ไมโรซิเนส และสารเบนซิลกลูโคซิโนเลตในปริมาณมาก สารเบนซิลกลูซิโนเลตนี้ส่วนใหญ่พบในพืชวงศ์คะน้า มีฤทธิ์ขับไล่สัตว์กินพืชในธรรมชาติ แต่มนุษย์ย่อยสารนี้โดยใช้เอนไซม์ไมโรซิเนส ได้สารต้านมะเร็ง งานวิจัยยังพบว่าสารสกัดเฮกเซนของเมล็ดมะละกอมีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างสารซูเปอร์ออกไซด์ และมีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งแบบอะป๊อปโทซิส จะเห็นว่าเมล็ดมะละกอมีฤทธิ์ต้านมะเร็งได้จริงตามภูมิปัญญาการแพทย์อินเดีย แต่ต้องใช้เวลาอีกมากกว่าจะมีการพัฒนาเป็นยาแผนปัจจุบันได้ต่อไป


จากมะละกอมาเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ 

มะละกอ นอกจากกินเป็นผลไม้ได้อร่อยแล้ว ยังนำไปทำเป็นน้ำมะละกอ หรือชามะละกอได้ น้ำมะละกอ สุกช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยการทำงานของลำไส้ ทำความสะอาดไต และยังเป็นยาระบายอ่อนๆอย่างดีอีกด้วย ส่วนชามะละกอดิบช่วยล้างระบบดูดซึมสารอาหาร คือ ล้างคราบไขมันที่ผนังลำไส้ซึ่งเกาะตัวที่ผนังลำไส้ ที่ขัดขวางการดูดซึมสารอาหารและวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดด้วย ปัจจุบันมีน้ำมะละกอหมักจำหน่ายแพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น ที่ทำเป็นผงบดแห้งก็มี แต่ประเทศไทยปลูกมะละกอได้ผลตลอดปีเรามาทำน้ำมะละกอสดดื่มกันเองดีกว่า 

น้ำมะละกอสุก

เลือกมะละกอที่สุกกำลังดี เนื้อไม่แข็ง หรือเละจนเกินไป เนื้อเนียน รสหวาน นำมะละกอสุกหั่นเอาแต่เนื้อครึ่งถ้วย น้ำเย็นจัด 1 ถ้วย ผง อบเชย 1/8 ช้อนชา เกลือป่น 1/4 ช้อนชา น้ำมะนาว 2 ช้อนชา ปั่นมะละกอกับน้ำเย็นจัด เกลือ น้ำมะนาวเข้าด้วยกัน รินใส่แก้ว โรยด้วยผงอบเชย ดื่มเย็นๆ ทันที

ชามะละกอจากผลมะละกอดิบ

ใช้มะละกอดิบไม่อ่อนเกินไปครึ่งผล ชาเขียว หรือชาจีน หรือชาใบหม่อน อย่างใดอย่างหนึ่ง เพิ่มดอกเก๊กฮวย ใบเตย หรือรากเตยไปด้วยถ้ามี ดอกเก๊กฮวยและใบเตยมีสรรพคุณบำรุงหัวใจ ส่วนรากเตยช่วยฟื้นฟูตับอ่อนให้มีกำลัง ปอกเปลือกมะละกอล้างน้ำให้สะอาด แล้วหั่นแบบชิ้นฟัก นำชิ้นมะละกอใส่หม้อ เติมน้ำ 3-4 ลิตร ตั้งไฟ (ใส่ดอกเก๊กฮวย หรือใบเตย หรือรากเตยตามชอบ) เมื่อน้ำเดือดสักพักหนึ่งยกหม้อลง ตักมะละกอ และดอกเก๊กฮวยออก ให้เหลือแต่น้ำ นำน้ำดังกล่าวไปชงชา ใส่ใบชาประมาณครึ่งกำมือ หลัง 5 นาทีกรองเอากากชาออก ทิ้งไว้ให้เย็นดื่มได้ทันที หรือบรรจุขวดเก็บไว้ในตู้เย็นได้ประมาณ 3 วัน 

สูตรโบราณจากประเทศอินเดียที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันให้เคี้ยวเมล็ดจากผลสุกสิบเมล็ดพร้อมกลืน ช่วยกระตุ้นระบบน้ำดี ย่อยไขมัน ล้างระบบทางเดินอาหาร และช่วยกระตุ้นการทำงานของตับ 

มะละกอเสริมความงามผิวพรรณ

เอนไซม์ปาเปนที่พบในมะละกอ ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย ทั้งด้านเภสัชกรรม โรงผลิตเบียร์ โรงงานเครื่องหนัง อุตสาหกรรมเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สปา เอนไซม์ปาเปนถูกใช้ในเครื่องสำอางได้เนื่องจากเอนไซม์ดังกล่าวสามารถย่อยสลายคอลลาเจนได้ ช่วยเร่งการผลัดเปลี่ยนเซลล์ผิว จึงใช้ทดแทนสารสังเคราะห์ แอลฟาไฮดรอกซีแอซิด (alphahydroxy acids; AHA) ได้ และมีคุณสมบัติช่วยย่อยโมเลกุลของโปรตีนด้วย ที่ผ่านมาประเทศไทยต้องนำเข้าเอนไซม์ปาเปนจากต่างประเทศ ปัจจุบันสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติได้สนับสนุนภาคเอกชนไทยผลิตเอนไซม์ปาเปนจากมะละกอดิบ พัฒนาเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สปา ทดแทนกรดผลไม้ที่มีค่าความเป็นกรดสูง พร้อมลดการนำเข้าจากต่างประเทศปีละกว่า 60 ล้านบาท

สำหรับผู้ที่มีผิวแห้ง หรือมีปัญหาเรื่องสิวบนใบหน้า สามารถทำมาสก์มะละกอสุกใช้เอง เพื่อผิวหน้าที่อ่อนนุ่มได้ตามสูตรข้างล่างนี้ 

สูตรที่ 1

ใช้มะละกอสุกปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้นๆ สัก 2-3 ชิ้น บดขยี้ด้วยช้อนจนละเอียด แล้วนำมะละกอ ดังกล่าวบดมาทาให้ทั่วใบหน้ายกเว้นรอบดวงตาทิ้งไว้สัก 10-15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด ใช้สัปดาห์ละครั้ง ผิวที่แห้งจะเริ่มชุ่มชื้น นุ่มนวล กระชับขึ้น เป็นสูตรโบราณจากประเทศอินเดียใช้ลบริ้วรอยได้ดี 

สูตรที่ 2

เหมือนสูตรข้างบน แต่เมื่อบดเนื้อมะละกอ แล้วให้ผสมโยเกิร์ตรสธรรมชาติปริมาณพอข้นให้เข้ากัน ทิ้งส่วนผสมไว้สัก 5 นาที นำมาพอกหน้าและคอ แขน มือ ทิ้งไว้ 10-15 นาที ล้างออกด้วยน้ำสะอาด เสร็จแล้วทาครีมบำรุงทันที ผิวจะนุ่ม และใสขึ้นเรื่อยๆ ใช้สัปดาห์ละ 1-2 ครั้งจะลบริ้วรอยได้

มะละกอ...ผลไม้ธรรมดาๆ แต่มากไปด้วยคุณค่า บรรพบุรุษคนไทยนี่ช่างฉลาดหลักแหลมจริงๆ ที่ปลูกมะละกอไว้กินกันแทบทุกบ้านเลย ประกอบอาหารได้ทั้งคาวหวาน แถมใช้บำรุงความงามได้อีก อย่าลืมลองสูตรมาสก์พอกหน้ากันนะ ของดีของไทยยุคเศรษฐกิจพอเพียง



TAKE PAPAYA AS OFTEN AS YOU CAN


Originally native to southern Mexico and now cultivated in many tropical countries (including Brazil , India , Indonesia , South Africa , Vietnam and Sri Lanka ), the papaya plant has been touted by traditional healers for centuries as a source of powerful medicine. Not only is papaya fruit delicious and loaded with vitamins and phytochemicals, but other parts of the plant have been used historically to treat health problems too.
The study, recently published in theJournal of Ethnopharmacology, not only showed that papaya has a direct anti-tumor effect on a variety of malignancies, but it also documented for the first time that papaya leaf extract increases the production of key signaling molecules called Th1-type cytokines.
The research team found that papaya’s anti-cancer effects were strongest when cancer cells received larger doses of the papaya leaf extract — yet, unlike many mainstream cancer therapies, there were no toxic effects at all on normal cells.
The researchers hope to follow up these experiments by eventually testing the papaya cancer treatment in animal and human studies. Up next for Dr. Dang and his colleagues: they’ve applied to patent a process to distill the papaya extract through the University of Tokyo and they are working to identify all the specific compounds in the papaya extract that are active against cancer cells.
To this end, Dr. Dang has partnered with Hendrik Luesch, a UF Shands Cancer Center professor of medicinal chemistry who is an expert in the identification and use of natural products for medical purposes. Dr. Luesch recently discovered yet another natural cancer fighter — a coral reef compound that blocks cancer cell growth in cell lines.


Health Benefits
Sweet and tasty papaya makes an excellent breakfast and is good in fruit salads. It can be blended with yogurt to make a delicious digestive smoothie. It also works well as an added ingredient in green salads. It tastes particularly good with lemon juice squeezed over it. The health benefits of papaya include heart disease and cancer prevention, cold and flu prevention and healthy digestions.
Papaya Nutrition
Papaya is an excellent source of vitamin C, with one medium papaya containing about 150% of the Daily value. It is also a good source of vitamin A, in beta-carotene form. It is also a good source of vitamin K, vitamin E and folate as well as the mineral potassium.
Papaya for Heart Disease Prevention
One of the health benefits of papaya is related to the fact that it contains high doses of three vitamins involved in heart disease prevention- vitamin A, vitamin E and beta-carotene. In addition, the high levels of folate found in papayas can help lower levels of the heart disease promoting amino acid homocysteine.
Papaya for Cold and Flu Prevention
Foods high in vitamin C, such as papaya, help boost the immune system. Vitamin C has been shown to help ward off symptoms of influenza A, the common cold and pneumonia. Vitamin A provides additional immune system support.
Papaya for Neural Tube Defect Prevention
Because papayas are rich in folate, they have applications in preventing neural tube defects. Eating folate-rich foods pre-pregnancy and during pregnancy can help the fetal spinal column to develop normally.
Papaya for Digestive Health
Papaya contains special digestive enzymes, called papain and chymopapain, which help digest proteins. Papaya is often used as a detoxification food and to give the digestive system a break, because it is so rich in its own digestive enzymes. Papaya also contains anti-oxidant vitamins C and E as well as folate, all of which can help prevent colon cancer.

Papaya/Pawpaw apaya (Carica papaya) originates from tropical American
countries. Today Papaya is cultivated in most tropical countries around the world.


Dengue Fever Remedy

I would like to share this interesting discovery from a classmate's son who has just recovered from dengue fever. Apparently, his son was in the critical stage at the ICU when his blood platelet count drops to 15 after 15 liters of blood transfusion.

His father was so worried that he seeks another friend's recommendation and his son was saved. He confessed to me that he gave his son raw juice of the papaya leaves. From a platelet count of 45 after 20 liters of blood transfusion, and after drinking the raw papaya leaf juice, his platelet count jumps instantly to135. Even the doctors and nurses were surprised. After the second day he was discharged. So he asked me to pass this good news around.
Accordingly it is raw papaya leaves, 2pcs just cleaned and pound and squeeze with filter cloth. You will only get one tablespoon per leaf. So two tablespoonful serving once a day. Do not boil or cook or rinse with hot water, it will loose its strength. Only the leafy part and no stem or sap. It is very bitter
and you have to swallow it like "Wong Low Kat". But it works.
You may have heard this elsewhere but if not I am glad to inform you that papaya juice is a natural cure for dengue fever. As dengue fever is rampant now, I think it's good to share this with all.

A friend of mine had dengue last year. It was a very serious situation for her as her platelet count had dropped to 28,000 after 3 days in hospital and water has started to fill up her lungs. She had difficulty in breathing. She was only 32 years old. Doctor says there's no cure for dengue. We just have to wait for her body immune system to build up resistance against dengue and fight its own battle. She already had 2 blood transfusions and all of us were praying very hard as her platelet continued to drop since the first day she was admitted.

Furthermore it's so easily available. Blend them and squeeze the juice! It's
simple and miraculously effective!!

No comments:

Post a Comment